เคยเขียนไว้ในกลุ่ม Channel มือหมุน แต่เอามาลงในเว็บด้วยเพื่อเป็นข้อมูลในอนาคต
คอเลคชั่น LOMO spherical เล็กๆ ของผม มีตั้งแต่ช่วง 16mm ไปจน 100mm ส่วนมากเป็น optical block รอเอาไป rehouse
OKC2-16-1
OKC1-18-1
OKC5-18-1
OKC1-22-1
OKC4-28-1
OKC7-28-1
OKC10-28-1
OKC2-30-1 x2
OKC1-35-1
OKC2-35-1
OKC8-35-1 x2
OKC11-35-1
OKC1-40-1
OKC1-50-1 x2
OKC1-50-6 x2
OKC1-56-1
OKC1-75-1 x2
OKC4-75-1
OKC6-75-1 x2
OKC2-100-2
35OPF7-1
ช่วงกว้างส่วนมากจะคลุมแค่ 35mm academy (ขนาดฟิล์ม 16x22mm) แต่ก็มีบางตัวที่เกินมาเยอะ “เกือบ” เต็มฟิล์ม 135 บ้าง อย่าง OKC8-35-1, OKC1-40-1, OKC1-50-1, OKC1-50-6 รวมถึงที่เกินฟิล์ม 135 อย่าง OKC1-75-1 ขึ้นไป แล้วก็จะมีบางตัว เช่น OKC1-56-1 กับ OKC4-75-1 ที่ผลิตมาสำหรับฟิล์ม 70mm ที่มีขนาด 52,5x23mm
พูดถึง 65/70mm จริงๆ LOMO ผลิตเลนส์สำหรับฟอร์แมตนี้เยอะมาก แต่ไม่ค่อยได้เห็นกัน ถ้าจะเห็นก็คือสองตัวข้างบนนี่แหละ OKC1-56-1 กับ OKC4-75-1 ราคาถูก หาง่าย แต่จริงๆ มีอีกหลายตัว เช่น Kino-Russar-10 28mm, OKC4-40-1, OKC2-100-1, OKC1-125-1, OKC2-150-1, OKC1-200-1, OKC1-300-1 พวกนี้ image circle ใหญ่ระดับ 52,5x23mm เลยทีเดียว ตัวที่หายากที่สุด และร้อยวันพันปีถึงจะเห็นทีคือตัว Kino-Russar-10 28mm ราคาที่ขายครั้งสุดท้ายคือแสนกว่าบาทเมื่อสองสามเดือนก่อน
เรื่องระยะ จริงๆ สมัยนั้นโซเวียตทำเลนส์ออกมาเยอะมาก มีทุกระบบทุกระยะ โดย LOMO ในช่วงเวลานั้นผลิตของ Academy 35mm กว้างสุดน่าจะ 10mm และแคบสุดน่าจะ 1000mm โดยส่วนมากจะเป็น Standard speed คือรูรับแสง f2 ขึ้นไป ยกเว้นพวก 65/70mm จะช้าหน่อย เช่น f/3 เป็นต้น ส่วนของ 35mm นอกจากจะมี Standard speed แล้วก็ยังมี Superspeed ด้วย นั่นคือพวกเลนส์รูรับแสงกว้างมากๆ เช่น OKC10-28-1 ที่ผมมีในเซ็ตนี้ (เป็น Superspeed ตัวเดียวที่มี) มีรูรับแสงกว้างระดับ f/1.2 หรือ T1.4 ซึ่งพวก Superspeed จะแพง และหายากมาก ส่วนมากจะผลิตในช่วงหลังๆ ปี 80-90 และตอนหลังๆ จะเป็น Ekran กับ Kinor housing กันเสียเยอะ
ส่วน RO series (ที่เขียนหน้าเลนส์ว่า PO ซึ่งตัว P ในภาษารัสเซีย คือตัว R ในอักษรภาษาอังกฤษ บางครั้งเลยมีคนเรียก PO กับ RO สลับกัน) ไม่ใช่เลนส์ที่ผลิตโดยโรงงาน LOMO แต่เป็นเลนส์ที่ผลิตโดยโรงงาน KMZ (Krasnogorski Mekhanicheskii Zavod) ในเมือง Krasnogorsk ส่วน LOMO (Leningradskoye Optiko-Mekhanicheskoye Obyedinenie) เป็นอีกโรงงานอยู่เมือง Leningrad (ตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็น St. Petersburg แล้ว) ดังนั้น RO series ≠ LOMO แต่จะเรียกว่าเป็นญาติกันก็ได้ เพราะอันที่จริง RO series บางตัวก็ผลิตโดย Lenkinap ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น LOMO
ส่วนมากเลนส์ LOMO จะผลิตมาสำหรับถ่ายหนัง โดยใช้สำหรับกล้อง Konvas ซึ่งมีสองเมาท์หลักๆ คือ OCT-18 (ก๊อป Arri S mount) กับ OCT-19 (ก๊อป Arri PL mount) (บางครั้งจะเขียนเป็น OST-18/19 เพราะตัว C ในรัสเซียคือ S ในอังกฤษ) สามารถแปลงเป็น PL mount หรือ เมาท์อื่นๆ ได้ แต่ส่วนมาก นิยมแปลงเป็น PL mount สำหรับกล้องถ่ายหนังมาตรฐานทั่วไป โดยตัวเมาท์ไม่เกี่ยวกับ housing ของเลนส์ เนื่องจากตัว optical block ที่ LOMO ผลิตมานั้นจะถูกนำไปทำ housing หลายแบบ เช่น Konvas, Kinor หรือ Ekran หรือแม้แต่เอาไปใช้เป็น taking lens ของเลนส์ anamorphic ก็จะมี housing ที่แตกต่างกันออกไปหลายสิบแบบ รวมกันอาจจะถึงร้อย
นอกจากเมาท์ OCT-18/19 แล้ว ก็มีเมาท์อื่นๆ ด้วย เช่นสำหรับกล้อง Rodina ซึ่งกลไกโฟกัสจะอยู่ในตัวกล้อง ไม่ได้อยู่บนตัวเลนส์ เลนส์ LOMO ที่ทำมาสำหรับกล้อง Rodina จะมีแค่วงแหวนรูรับแสง แต่ไม่มีวงแหวนโฟกัส
อีกเรื่องหนึ่งที่อยากเสริมคือ รหัสของเลนส์ หรือรหัสของ optical block ปกติเลนส์ LOMO จะมีรหัสระบุไว้เสมอ เช่น OKC1-50-1 คำว่า OKC หรือ OKS เป็นตัวย่อของภาษารัสเซียที่แปลว่า lens of cine camera หรือเลนส์สำหรับกล้องถ่ายภาพยนตร์ ตัวเลข 1 ข้างหน้าคือหมายเลขการออกแบบของเลนส์ตัวนั้น ส่วน 50 คือระยะของเลนส์ และตัวสุดท้ายคือหมายเลขเวอร์ชันของการแก้ไขการออกแบบเลนส์ตัวนั้น ดังนั้น OKC1-50-1 ก็คือเลนส์ระยะ 50mm เวอร์ชัน 1 ไม่มีการปรับปรุงการออกแบบ ดังนั้นจึงใช้เลข 1 ไว้หลังสุด ซึ่งนั่นหมายความว่าเลนส์ระยะใดหนึ่งก็อาจจะมีหลายเวอร์ชัน เช่น OKC1-50-6 คือเลนส์ 50mm เวอร์ชัน 1 แต่ปรับปรุงฉบับที่ 6 เป็นต้น ทีนี้บางครั้งก็จะมีเลนส์ OKC สำหรับฟิล์ม 16mm ด้วย ซึ่งมักจะขึ้นต้น 16OKC1-6-1 ก็คือเลนส์ 6mm เวอร์ชัน 1 ไม่มีการปรับปรุงการออกแบบ และเป็นเลนส์สำหรับฟิล์ม 16mm นั่นเอง ถ้าเอามาใช้กับ APS-C หรือ Super35 จะติดขอบเยอะมาก เหมาะกับเอาไปใช้กับกล้อง sensor เล็กๆ อย่าง BMPCC หรือ Pentax Q พอได้อยู่
สุดท้าย การใช้เลนส์ LOMO จะใช้แบบใน housing เดิมๆ ก็ได้ แค่หา adapter มาใส่ ส่วนมากก็จะมี OCT-18 กับ OCT-19 ไป PL mount แต่ OCT-19 บางครั้งก็จะมีไป EF mount ด้วย แต่จะใช้ได้เฉพาะ Kinor housing เท่านั้น เพราะท้ายจะสั้นกว่า Konvas housing แต่ส่วนตัวผมถ้ามีงบจะส่งไปแปลงเป็น PL mount เพื่อใช้กับกล้องใหญ่ แต่ถ้าไม่มีงบ หรือไม่อยากแปลง ก็ซื้อ adapter ให้ตรงกับกล้องมาใช้แทน หรือถ้าซื้อมาแค่ optical block ก็สามารถเอามาต่อ helicoid จีนผ่าน threads adapter ง่ายๆ แบบของ RafCamera ก็ได้ ใช้ได้เหมือนกันแต่อาจจะปรับรูรับแสงยากหน่อย โดยเฉพาะถ้าตัว optical block มันอยู่ลึกเข้าไปใน helicoid (เช่นพวกระยะกว้างๆ อย่าง 1-22-1 ที่ทั้งเล็ก และสั้น)
ท้ายสุด ใครมีตัวไหน หรือเล่นตัวไหนอยู่ก็มาแนะนำกันได้ครับ หรือจะลงขายตัวที่มี แต่ไม่ค่อยได้ใช้ ก็สนใจเช่นกันฮะ