กระแสรีเฮ้าส์เลนส์ช่วงหลายปีมานี้คึกคักมาก มีเจ้าใหญ่ๆ หลายๆ เจ้าที่ครองตลาดบนอย่างเหนียวแน่น หลักๆ ที่น่าจะรู้จักกันก็น่าจะเป็น Zero Optik จากฝั่งอเมริกา และ TLS หรือ True Lens Services จากเกาะอังกฤษ นอกนั้นก็มีเจ้าเก่าเจ้าเดิมที่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมาแรงแล้วอย่าง P+S Technik จากเยอรมัน แต่รู้หรือไม่ว่าการรีเฮ้าส์เลนส์นั้นมีมาเนิ่นนานมากแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 หรืออาจจะย้อนกลับไปมากกว่านั้น ก็มีการรีเฮ้าส์เลนส์กันมากมายแล้ว อย่างที่น่าจะพอเคยได้ยินกันบ้างก็เช่น Cineovision ที่เอาเลนส์ Olympus OM/Pen-F และ Contax Zeiss หลายตัวมารีเฮ้าส์ หรือ Optex ที่รีเฮ้าส์เลนส์ Canon ในช่วงต้นปี 90s
ว่ากันด้วยการซื้อขายเลนส์เก่า
ขึ้นชื่อว่าเลนส์เก่าก็ย่อมมีความไม่สมบูรณ์แบบอยู่แล้ว ซึ่งน่าจะเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป (แต่เข้าใจน้อย หรือเข้าใจมากก็อีกเรื่อง 555) สภาพเลนส์ภายนอกมักจะมองเห็นสังเกตได้กันทันที ไม่ว่าจะเป็นรอยขีดข่วน รอยบุ๋ม จุดแตกหัก หรือแม้แต่ความซีด หรือสีอะไรต่างๆ ที่มีปัญหา แต่สภาพภายใน หรือชิ้นเลนส์ที่อยู่ข้างในนั้นค่อนข้างเป็นเรื่องสังเกตได้ยาก ซึ่งเป็นประเด็นของโพสต์นี้ที่จะมากล่าวถึง ตัวผมนั้นสงสัยแล้วสงสัยอีกว่าคนขายเลนส์ส่วนมากนี่หัวหมอเฉยๆ หรือเขาไม่รู้จริงๆ ว่าวิธีเช็คเลนส์นั้นเช็คมันยังไง สังเกตว่าเกือบทุกคนมักจะบอกว่าเลนส์ตัวเองสภาพไร้ฝ้า ไร้รา ไร้รอยขีดข่วน (มักจะเรียกกันว่าขนแมว) บางรายถึงกับใช้คำว่าไร้ตำหนิเลยก็มี (ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับเลนส์อายุ 20-30 ปีขึ้น)
LOMO 70-OKC4-40-1
หนึ่งในเลนส์สำหรับฟอร์แมท 70mm ไม่กี่ตัวของ Lomo โดยตัวนี้เป็นระยะ 40mm รูรับแสง f/3.0 T3.6 ขนาด Optical block อยู่ที่ 77mm x 79mm (ยาว x กว้าง) น้ำหนักราวๆ 420g ไม่รวม housing นอกจาก 4-40-1 แล้วก็ยังมี 2-40-1 แต่ 2-40-1 ขนาดใหญ่กว่ามาก และรูรับแสงแคบกว่าที่ f/3.5 T3.8 น้ำหนักเฉพาะ optical block ของ 2-40-1 อยู่ที่ 1000g หรือ 1kg กันเลย ดังนั้น 4-40-1 จึงเป็นทายาทที่ปรับการออกแบบมาพอสมควรจนทำให้ทั้งน้ำหนัก และขนาดลดลง แถมยังเพิ่มความกว้างรูรับแสงด้วย ด้วยความที่มันถูกออกแบบมาสำหรับเฟรม 52.5 […]
New Year Eve with Zeiss Ikon 22 Anamorphic 1.5x & Panasonic S1H
Some say the Zeiss Ikon 22 Anamorphic 1.5x is exactly the same lens as the Iscomorphot 8/1.5x. Some say the only difference is the coating that the Ikon got inputs from Zeiss. No matter what they say, the truth is the Ikon 22 has both bigger front and rear elements, […]
Staats Newcomer Goerz Cine-Panor Anamorphic 1.5x
หลังจากที่ค้นหามานานแสนนาน ในที่สุดก็ได้ครอบครองหนึ่งในเลนส์ที่หายากที่สุดในโลก นี่คือ Cine-Panor Anamorphic ผลิตโดย Staats Newcomer Goerz ในสหรัฐอเมริกา เป็นเลนส์ Anamorphic สำหรับการถ่ายหนังตัวแรกของโลก ผลิตครั้งแรกในปี 1931 หรือ 90 ปีมาแล้ว มันเก่าแก่ขนาดที่ว่ายังไม่มี coating บนผิวเลนส์ เก่าแก่ขนาดที่ว่า Henry Chretien ที่ถือว่าเป็นบิดาแห่งเลนส์ Anamorphic ก็ยังไม่ได้ผลิตเลนส์ Anamorphic สำหรับการถ่ายหนังออกมาในตอนนั้น มันถูกผลิตขึ้นมา 20 ปีก่อนที่ Hollywood จะเริ่มทำหนังเรื่องแรกที่ถ่ายทำด้วยเลนส์ Anamorphic เสียอีก (Robe เป็นหนังที่ออกฉายในปี 1953 และเป็นหนังเรื่องแรกของโลกที่ถ่ายด้วยระบบ Anamorphic นั่นคือ 22 ปีหลังจากมี Cine-Panor) น่าเสียดายที่ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกซบเซาอย่างหนัก ประกอบกับการที่ถูก Henry Chretien ฟ้องร้อง […]
รีวิวเลนส์ Sirui 50mm T2.9 1.6x FF Anamorphic
รีวิวแนะนำเลนส์ตัวล่าสุดจาก Sirui ระยะ 50mm อัตราการบีบอัด 1.6x สำหรับกล้อง Fullframe
Kowa Anamorphic 8-B on Kallo gold 8mm film camera
ว่ากันว่าเลนส์ Kowa Anamorphic-8 2x เป็นเลนส์ anamorphic 2x ที่เล็กที่สุดในโลก โดยจะมีอยู่ 2 รุ่นหลักๆ คือรุ่นที่เป็น adapter เฉยๆ จะเขียนว่า Kowa Anamorphic-8 และรุ่นที่มาพร้อมกับเลนส์หลังเลยจะเขียนว่า Kowa Anamorphic 8-B ก็คือตัวนี้ ซึ่งออกแบบมาให้ใช้กับกล้อง Kallo เป็นกล้องฟิล์ม 8mm เมื่อหลายสิบปีก่อนของ Kowa
RafCamera’s clamp system for Zeiss Ikon 22 Anamorphic lens
ทำวิดีโอไว้ สำหรับการติดตั้งแคลมป์ของ RafCamera สำหรับเลนส์ Zeiss Ikon 22 ใครสนใจซื้อได้ที่ https://rafcamera.com/adapter-m40-5×0-5m-to-zia-22
Lomo Spherical Lens Collection
เคยเขียนไว้ในกลุ่ม Channel มือหมุน แต่เอามาลงในเว็บด้วยเพื่อเป็นข้อมูลในอนาคต คอเลคชั่น LOMO spherical เล็กๆ ของผม มีตั้งแต่ช่วง 16mm ไปจน 100mm ส่วนมากเป็น optical block รอเอาไป rehouse OKC2-16-1OKC1-18-1OKC5-18-1OKC1-22-1OKC4-28-1OKC7-28-1OKC10-28-1OKC2-30-1 x2OKC1-35-1OKC2-35-1OKC8-35-1 x2OKC11-35-1OKC1-40-1OKC1-50-1 x2OKC1-50-6 x2OKC1-56-1OKC1-75-1 x2OKC4-75-1OKC6-75-1 x2OKC2-100-235OPF7-1 ช่วงกว้างส่วนมากจะคลุมแค่ 35mm academy (ขนาดฟิล์ม 16x22mm) แต่ก็มีบางตัวที่เกินมาเยอะ “เกือบ” เต็มฟิล์ม 135 บ้าง อย่าง OKC8-35-1, OKC1-40-1, OKC1-50-1, OKC1-50-6 รวมถึงที่เกินฟิล์ม 135 อย่าง OKC1-75-1 ขึ้นไป แล้วก็จะมีบางตัว เช่น OKC1-56-1 กับ OKC4-75-1 […]