กระแสรีเฮ้าส์เลนส์ช่วงหลายปีมานี้คึกคักมาก มีเจ้าใหญ่ๆ หลายๆ เจ้าที่ครองตลาดบนอย่างเหนียวแน่น หลักๆ ที่น่าจะรู้จักกันก็น่าจะเป็น Zero Optik จากฝั่งอเมริกา และ TLS หรือ True Lens Services จากเกาะอังกฤษ นอกนั้นก็มีเจ้าเก่าเจ้าเดิมที่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมาแรงแล้วอย่าง P+S Technik จากเยอรมัน แต่รู้หรือไม่ว่าการรีเฮ้าส์เลนส์นั้นมีมาเนิ่นนานมากแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 หรืออาจจะย้อนกลับไปมากกว่านั้น ก็มีการรีเฮ้าส์เลนส์กันมากมายแล้ว อย่างที่น่าจะพอเคยได้ยินกันบ้างก็เช่น Cineovision ที่เอาเลนส์ Olympus OM/Pen-F และ Contax Zeiss หลายตัวมารีเฮ้าส์ หรือ Optex ที่รีเฮ้าส์เลนส์ Canon ในช่วงต้นปี 90s Post Views: 5,351
Year: 2022
ว่ากันด้วยการซื้อขายเลนส์เก่า
ขึ้นชื่อว่าเลนส์เก่าก็ย่อมมีความไม่สมบูรณ์แบบอยู่แล้ว ซึ่งน่าจะเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป (แต่เข้าใจน้อย หรือเข้าใจมากก็อีกเรื่อง 555) สภาพเลนส์ภายนอกมักจะมองเห็นสังเกตได้กันทันที ไม่ว่าจะเป็นรอยขีดข่วน รอยบุ๋ม จุดแตกหัก หรือแม้แต่ความซีด หรือสีอะไรต่างๆ ที่มีปัญหา แต่สภาพภายใน หรือชิ้นเลนส์ที่อยู่ข้างในนั้นค่อนข้างเป็นเรื่องสังเกตได้ยาก ซึ่งเป็นประเด็นของโพสต์นี้ที่จะมากล่าวถึง ตัวผมนั้นสงสัยแล้วสงสัยอีกว่าคนขายเลนส์ส่วนมากนี่หัวหมอเฉยๆ หรือเขาไม่รู้จริงๆ ว่าวิธีเช็คเลนส์นั้นเช็คมันยังไง สังเกตว่าเกือบทุกคนมักจะบอกว่าเลนส์ตัวเองสภาพไร้ฝ้า ไร้รา ไร้รอยขีดข่วน (มักจะเรียกกันว่าขนแมว) บางรายถึงกับใช้คำว่าไร้ตำหนิเลยก็มี (ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับเลนส์อายุ 20-30 ปีขึ้น) Post Views: 1,296
LOMO 70-OKC4-40-1
หนึ่งในเลนส์สำหรับฟอร์แมท 70mm ไม่กี่ตัวของ Lomo โดยตัวนี้เป็นระยะ 40mm รูรับแสง f/3.0 T3.6 ขนาด Optical block อยู่ที่ 77mm x 79mm (ยาว x กว้าง) น้ำหนักราวๆ 420g ไม่รวม housing นอกจาก 4-40-1 แล้วก็ยังมี 2-40-1 แต่ 2-40-1 ขนาดใหญ่กว่ามาก และรูรับแสงแคบกว่าที่ f/3.5 T3.8 น้ำหนักเฉพาะ optical block ของ 2-40-1 อยู่ที่ 1000g หรือ 1kg กันเลย ดังนั้น 4-40-1 จึงเป็นทายาทที่ปรับการออกแบบมาพอสมควรจนทำให้ทั้งน้ำหนัก และขนาดลดลง แถมยังเพิ่มความกว้างรูรับแสงด้วย ด้วยความที่มันถูกออกแบบมาสำหรับเฟรม 52.5 […]